Asia as Method และการสนับสนุนสิทธิความหลากหลาย
ทางเพศในบริบทเอเชีย


ณัฎฐณิชา เหล็กกล้า





Asia as Method and Advocating for Gender and Sexual Diversity Rights in an Asian Context.

May Nattanicha Lekkla


เราเจอคุณแซม คิม (Sam Kim) Director ของ Common Imprint ที่งาน Symposium ของ Bangkok Art Book Fair ในงานนั้นเราได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งใน Speaker หัวข้อ Shifting Points of Reference : Thinking of Asia as Methods ในงานเราพูดในประเด็น Asia as Methods และการเมืองเรื่องเพศ คุณแซม คิม สนใจในประเด็นดังกล่าว จึงชวนให้เราแชร์บางประเด็นที่เราได้พูดในงาน Symposium ลงในเว็บไซต์ของ Common Imprint เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้พูดคุยกับนักอ่านของ Common Imprint
        Asia as Method ของ กวน ซิง เฉิน ต้องการท้าทายอำนาจนำทางองค์ความรู้ของแนวคิดทฤษฎีแบบ Eurocentric หรืออำนาจนำทางแนวคิดที่มาจาก Global North อันประกอบด้วยยุโรป และอเมริกาเหนือ เฉินมองว่าการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม ยาวมาถึงยุคสงครามเย็น ได้สถาปนาอำนาจนำด้านความคิด ทฤษฎีที่มาจาก Global North ซึ่งกดทับองค์ความรู้และแนวคิดในบริบทท้องถิ่น ของ Global South ซึ่งหมายรวมถึงเอเชีย
        เราได้นำเอาแนวคิดของกวนซิงเฉิน ซึ่งโดยภาพรวมคือการท้าทายแนวคิดของระบบอาณานิคม มาตั้งคำถามต่อในประเด็นเรื่องเพศว่า มีองค์ความรู้หรืออำนาจเรื่องเพศที่ตกค้างจากระบบอาณานิคมยังไงบ้างที่ยังทำงานกับความคิดของคนอยู่ มีอำนาจนำทางความคิดของ Eurocentric ซึ่งอาจจะกดทับความหลากหลายของบริบทและเสียงที่แตกต่างของคนในเอเชียยังไงบ้าง นอกจากนี้แม้กระทั่งองค์ความรู้ภายในเอเชียหรือภายในท้องถิ่นเองมีลักษณะแบบอาณานิคมที่มุ่งครอบงำเสียงที่แตกต่างอยู่หรือไม่ และองค์ความรู้และความเชื่อท้องถิ่นของเอเชีย มีอะไรบ้างที่สนับสนุนสิทธิในเรื่องเพศได้ เราจะสามารถนำแนวคิดเรื่อง Asia inter-reference point มาใช้ในการวิเคราะห์การเมืองเรื่องเพศในบริบทเอเชียยังไง นี่กลายเป็นคำถามของเรา
        ในการเมืองเรื่องเพศมรดกที่สำคัญที่สุดของลัทธิอาณานิคม คือ มรดกแนวคิด Sodomy Law หรือมาตรา 377 A ที่เจ้าอาณานิคมอังกฤษใช้กับประเทศอาณานิคมทั้งหมดของอังกฤษ กฎหมาย Sodomy Law หรือมาตรา 377 A คือกฎหมายที่ว่าด้วยลงโทษ 'การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก' โดยมีโทษจําคุกตลอดชีวิตจนถึงขั้นประหารชีวิตต่อคนในอาณานิคมจักรววรดิอังกฤษ คิดค้นกฎหมายโดยของลอร์ดโธมัส บาบิงตัน มาเก๊าเลย์ (Lord Thomas Babington Macaulay) คิดค้นขึ้นเพื่อ 'ปลูกฝังศีลธรรมของยุโรปให้มวลชนที่ดื้อรั้น' อันเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้ศีลธรรมแบบวิคตอเรียนขึ้นทั่วจักรวรรดิ มาตรา 377 ใช้ครั้งแรกในอาณานิคมอินเดียในปี 1860 และใช้ในประเทศเอเชียใต้ที่เป็นอาณานิคมทั้งหมด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง มาตรา 377 ครอบคลุมประเทศพม่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดียในขณะนั้น และใช้ในมาเลเซีย บรูไน และสิงค์โปร์ ซึ่งในปัจจุบันมาตรา 377 ยังถูกใช้ในหลายประเทศ และบางประเทศที่เป็นอาณานิคมยังขยายขอบเขตกฎหมายให้ครอบคลุมความสัมพันธ์แบบหญิงรักหญิง และเจ้าอาณานิคมยังขยายขอบเขตกฎหมายในการห้ามแต่งกายข้ามเพศ กฎหมายที่มาพร้อมการปลูกฝังศีลธรรมแบบวิคตอเรียนไม่เพียงแต่ลงโทษกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน แต่เป็นการปลูกฝังระบบคิดเรื่องเพศแบบ Binary และระบบคิดเรื่องเพศตามบรรทัดฐานรักต่างเพศ
        เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าก่อนการมาถึงของอิทธิพลตะวันตก แต่ละท้องถิ่นล้วนมีวิธีคิดเรื่องเพศเป็นของตัวเอง ที่อาจจะไม่เหมือนกับตะวันตกแต่ถูกทำให้เป็นอื่นและเป็นอาชญากรรม เช่น ในอินเดียก่อนการมาถึงของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ กลุ่ม Transgender women ในอินเดีย ซึ่งถูกเรียกว่าฮิจรา (Hijra) ก็มีฐานะทางสังคมที่อยู่ในสภาวะเป็นเพศศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถให้โชคแก่คนอื่นๆ รวมถึงสามารถสาปแช่งได้ เป็นเพศที่ได้รับการยอมรับถึงการมีอยู่ แต่การมาถึงของตะวันตกก็ทำให้ฮิจรา (Hijra) เป็นสิ่งผิดกฎหมายในช่วงอาณานิคม เป็นอาชญากรรม เป็นความเป็นอื่น เป็นต้น
        ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตกอื่นที่ไม่ใช่อังกฤษ อย่างฟิลิปปินส์ที่ตกเป็นเมืองขึ้นของสเปนก็เช่นเดียวกัน ฟิลิปปินส์เรียก Transgender women ว่า Bakla ซึ่งก็คล้ายกับอินเดีย คือก่อนเข้ามาของตะวันตก Bakla ก็ได้รับการยอมรับจากสังคมท้องถิ่น แต่การเข้ามาของสเปนก็ทำให้ Bakla เป็นความผิดเช่นกัน นี่เป็นการสะท้อนว่าสังคมเอเชียมีระบบคิดเรื่องเพศมากกว่าสองเพศอยู่แล้วตั้งแต่ดั้งเดิม และบริบทประวัติศาสตร์ตรงนี้เราก็สามารถใช้ในการอ้างอิงเพื่อสนับสนุนแนวคิดความหลากหลายทางเพศได้ ในแบบที่ไม่ได้มาจากแนวคิดบริบทตะวันตก รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงมรดกอาณานิคมตะวันตกที่กดทับเรา
        แม้ว่าการวิเคราะห์ของมโนทัศน์ที่ดำรงอยู่ก่อนการได้รับอิทธิพลจากตะวันตก เป็นเครื่องมือที่สำคัญของแนวคิดแบบ Asia as method แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวัง คือ การจัดตำแหน่งตะวันตกให้กลายเป็นจุดตรงกันข้ามกับตะวันออกหรือเอเชีย เพราะมันคือการทำให้สูตรการจัดแบ่งตะวันตกกับตะวันออกแบบ Binary มีความหนักแน่นขึ้น ยิ่งตอกย้ำแนวคิดแบบ Binary เช่นเดิม กวน ซิง เฉิน เสนอว่าแทนที่จะผลิตซ้ำวาทกรรมตะวันตกในฐานะความเป็นอื่น ( the west as the other) ในแบบเดียวกับที่ตะวันตกทำกับเรา กลยุทธ์ทางวาทกรรมทางเลือกหนึ่งก็คือ การจัดวางตะวันตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ที่แทรกเข้าไปในการก่อรูปสังคมท้องถิ่น ในบริบทนี้การก่อรูปท้องถิ่นของความเป็นสมัยใหม่นำองค์ประกอบที่สำคัญของตะวันตกมา แต่ไม่ถูกครอบคลุมหรือห่อหุ้มทั้งหมดด้วยตะวันตก เมื่อเรายอมรับว่าตะวันตกเป็นชิ้นส่วนภายในท้องถิ่น เราจะไม่พิจารณาว่าตะวันตกเป็นสิ่งตรงกันข้ามอีกต่อไป แต่เป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมท่ามกลางสิ่งอื่นๆ เมื่อทำตามแนวคิดนี้ เราก็จะไม่ถูกผูกมัดให้เป็นปรปักษ์กัน หรือไม่ถูกครอบงำโดยความคิดใดความคิดหนึ่ง
        เมื่อเราไม่ได้มองตะวันตกในฐานะสิ่งตรงข้ามเพียงอย่างเดียว เราจะเห็นความซับซ้อนของอำนาจแบบอาณานิคมอีกมาก เราจะเห็นภาวะอาณานิคมอีกหลายแบบ เราจะเห็นการทำงานของอำนาจในเรื่องเพศ รวมถึงอำนาจต่างๆ ที่บางครั้งชนชั้นนำในท้องถิ่นเองก็หยิบเอาแนวคิดบางอย่างของตะวันตกมาใช้เพื่ออำนาจของตนเอง หรือใช้การต่อต้านตะวันตกมาเพื่อคงอำนาจของตนเอง เช่นเดียวกับประชาชนในท้องถิ่นที่ทั้งหยิบยืมแนวคิดตะวันตกมาใช้ต่อรองกับเจ้าท้องถิ่นหรือต่อรองกับตะวันตกเอง หรือใช้การต่อต้านแนวคิดตะวันตกในการต่อสู้ทางอำนาจ
        สำหรับประเด็น Asia interreference แน่ละว่าการเชื่อมต่อด้วย local history ที่ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของแนวคิดแบบดั้งเดิมบางประการก่อนเข้ามาของตะวันตกจะเป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญ แต่เราก็ต้องไม่ Romanticize ว่าการกลับไปหาแนวคิดแบบดั้งเดิมของเอเชีย กลับไปหา local history มันจะเป็นคำตอบของสิทธิความหลากหลายทางเพศ เพราะแนวคิดในอดีตไม่ได้เท่ากับสิทธิความหลากหลายทางเพศที่สมบูรณ์แบบ แต่เพียงแค่นำมาพัฒนาต่อยอดได้ในบางแง่มุม และควรจะถูกวิจารณ์เพื่อพัฒนาต่อยอด ประเด็นสำคัญไม่ใช่แค่การเชื่อมต่อทางองค์ความรู้ แต่ยังหมายถึงการถูกกดทับในบริบทที่ใกล้เคียงกันของชาวเอเชีย เช่น การถูกกดทับจากมรดกอาณานิคม หรือการถูกกดทับจากประเทศในเอเชียด้วยกัน หรือกดทับจากอำนาจภายในชุมชนของตนเอง เพราะฉะนั้นการเชื่อมต่อองค์ความรู้อาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญหนึ่งเดียว แต่มันยังรวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์อำนาจนำทั้งอำนาจนำของตะวันตก และอำนาจที่ผลิตในบริบทเอเชีย เราต้องวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกันด้วย


ณัฎฐณิชา เหล็กกล้า นักวิจัยอิสระชาวไทย สนใจการเมืองเรื่องเพศ แนวคิดเกี่ยวกับ decolonization รวมทั้งเควียร์ในบริบทและมุมมองแบบเอเชีย

Email: nattanicha.lemay@gmail.com
Instagram: nat.le65

I met Sam Kim, Director of Common Imprint, at the Symposium of the Bangkok Art Book Fair. I was invited to be one of the speakers for the session titled 'Shifting Points of Reference: Thinking of Asia as Methods.' During the event, I discussed 'Asia as Methods' and the politics of gender and sexuality. Sam Kim expressed interest in these topics and invited me to share some highlights from my talk at the Symposium on the Common Imprint website. I'm thrilled to have the opportunity to engage with Common Imprint readers.
        Kuan-Hsing Chen's concept of "Asia as Method" aims to challenge the hegemonic knowledge structures of Eurocentric theoretical ideologies and the guiding influence of the Global North, encompassing Europe and North America. Kuan-Hsing Chen perceives that the prolonged colonial expansion of Western nations during the colonial and Cold War eras has established hegemonic dominance in intellectual thoughts and theories from the Global North, subsequently subjugating the local knowledge and perspectives of the Global South, inclusive of Asia.
        I have taken the concept of Guan Xing Chen, which it challenges the concept of colonial systems, to pose questions regarding gender and sexuality: how is there any knowledge or power of gender and sexuality left over from the colonial system that still works with people's minds? How does Eurocentric's thinking power suppress the diversity of Asian contexts and voices? Moreover, do even indigenous knowledge systems within Asia exhibit colonial characteristics aimed at suppressing divergent voices and concepts? Additionally, what aspects of Asian knowledge and beliefs can support gender and sexuality rights? How can we use the concept of Asia inter-reference point to analyze gender and sexuality politics in the Asian context?
        The most significant legacy of colonialism in terms of gender and sexuality politics is the section 377A or what is known as sodomy Law, which the British colonial administration imposed on all its colonies. The section 377A is a law that defines certain sexual acts as crimes such as anal sex. This law, conceived by Lord Thomas Babington Macaulay, was designed to "implant European morals" serving as the starting point for the widespread imposition of Victorian morality throughout the colonies. In practice, sodomy laws have rarely been enforced against heterosexual couples, and have mostly been used to target same-sex relationships between man and man. Section 377 was first introduced in colonial India in 1860 and applied to all British colonies in Southeast Asia. Section 377 covered countries like Myanmar, which was part of British India at the time, and was also enforced in Malaysia, Brunei, and Singapore. Today, Section 377 is still in use in many countries, and some post-colonial nations have expanded its scope to include same-sex relationships between woman and woman. In addition, the colony's laws governing sexuality also included a ban on cross-dressing. The legislation, which came with the imposition of Victorian morality, not only penalizes same-sex relationships but also instill and reinforces binary gender norms and heteronormativity.
        It is imperative to comprehend that prior to the Western colonial, each region had its own distinct perspectives on sexuality, divergent from Western norms, which were subsequently stigmatized and criminalized. For instance, in pre-colonial India, the social status of Transgender women, known as Hijras, held a recognized societal position allowing them to bestow blessings upon others and were acknowledged as a gender outside the binary. However, the advent of Western colonialism classified Hijras as illegal entities, criminalizing their existence.
        Similarly, in other Southeast Asian countries, such as the Philippines, which became a Spanish colony, the societal status of Transgender women, referred to as Bakla. Bakla were accepted within their local societies, yet the arrival of Spanish influence rendered them similarly criminalized. This illustrates that Asian societies historically acknowledged more than just a binary understanding of gender and sexuality. This historical context can be referenced to support gender and sexuality rights ideologies distinct from Western paradigms, thereby showcasing the cultural legacy of Western colonialism that suppressed these local notions.
        Even though the analysis of pre-Western-influenced ideologies stands as a pivotal tool within the framework of Asia as a method, what requires caution is positioning the West as diametrically opposed to the East or Asia. This action accentuates the binary formulation of Western and Eastern paradigms, further reinforcing the binary concept. Kuan-Hsing Chen suggests an alternative rhetorical strategy instead of reproducing Western discourse as 'the other,' similarly to how the West treats us.
        One such strategic involves fragmenting the Western perspective into smaller fragments, inserting them into the formation of local societies. In doing so, the shaping of localities in contemporary terms introduces significant components of the West but not encapsulated entirely by it. Accepting the West as an inherent part of the local elements dissuades us from perceiving it as entirely antithetical. Instead, it becomes a cultural resource amidst other elements. By following this approach, we avoid being confined or dominated by any singular ideology.
        When we refrain from solely regarding the West as the polar opposite, we gain a clearer understanding of the intricacies of colonial power. In some historical contexts, local elites in Asia may selectively adopt certain Western ideas to bolster their dominance or reject Western ideologies to preserve their authority, as well as locals borrowing Western concepts for negotiation with local and Western authorities or resisting Western ideologies in their quests for power.
        For the Asia interreference issue, connecting through local history that helps us appreciate the value of certain traditional Asian ideas before the onset of Western colonialism is indeed a significant approach. However, we must refrain from romanticizing the return to traditional Asian thinking or local history as the solution to gender and sexuality diversity rights. Ideas from the past do not equate to comprehensive gender diversity rights but may serve as a basis for further development in certain aspects. Both Western and Asian-originated ideas from the past should be subject to criticism for progressive development. The key issue lies not only in the connectivity of knowledge within Asian contexts but also in the suppressed within similar contexts in Asia such as suppressed from colonial legacies. Including being suppressed knowledge and power by countries in Asia and local authorities. Therefore, we must criticize assess both Western hegemonic power and the power produced within Asian contexts.


May Nattanicha Lekkla
Thai independent researchers who interested in the politics of gender and sexuality, decolonization, and queer perspectives from an Asia lens.

Email: nattanicha.lemay@gmail.com
Instagram: nat.le65